สมัยกลางหรือยุคมืด
เริ่มประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 4 -15
เป็นช่วงรอยต่อหลังจากที่จักรวรรดิโรมันล่มสลาย ความเจริญหยุดลง ประดุจยุคมืด
ประชาชนในยุโรปต่างไม่มีที่พึ่ง เจ้าผู้ครองแต่ละเมืองตั้งตัวเป็นใหญ่
เกิดระบบศักดินาสวามิภักดิ์
ประชาชนให้ความสำคัญกับศาสนจักรคริสต์โรมันคาธอลิคอย่างมาก
การกระทำทุกอย่างถูกครอบงำโดยศาสนา ห้ามกระทำนอกเหนือจากคำสอนของศาสนา
ไม่เช่นนั้นจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง โดยมีรายละเอียดดังนี้
การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน
โรมันตะวันออกกับโรมันตะวันตกทำสงครามกันเองเพื่อความเป็นใหญ่
ก่อนหน้านี้
โรมในสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนติน มีอาณาเขตกว้างขวางมาก
จนมีการแบ่งการปกครองเป็นสองส่วน คือโรมันตะวันออกกับโรมันตะวันตก
แต่แทนที่จะมีการปกครองที่ดีขึ้น ทั้งสองฝั่งกับทำสงครามกันเองเพื่อความเป็นใหญ่
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 บุกเข้าโรม
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่
1 เป็นจักรพรรดิทางด้านตะวันออก ที่ทำสงครามชนะ สามารถบุกเข้าโรม
รวมอาณาจักรโรมันไว้เป็นหนึ่งเดียว แต่ครั้งนี้เมืองหลวงไม่ได้อยู่ที่โรมเสียแล้ว
เนื่องจากว่าคอนสแตนตินเป็นจักรพรรดิด้านตะวันออกก็อยากจะอยู่ที่ด้านตะวันออก
คือกรุงคอนสแตนติโนเปิล เมืองท่าปากทางเข้าทะเลดำซึ่งตั้งตามชื่อของเขาเอง
หรืออาจเรียกว่า ไบแซนทิอุม หรือ ไบแซนไทน์ (Byzantium) ปัจจุบันคือ
เมืองอิสตันบุล ในประเทศตุรกี
นั่นหมายความว่าจักรวรรดิโรมันถูกแบ่งออกเป็น
2 ฝั่ง คือ
1. โรมันตะวันตก
มีเมืองหลวงอยู่ที่ กรุงโรม-ประเทศอิตาลี
2. โรมันตะวันออก
หรือถูกเรียกอีกชื่อว่า จักรวรรดิไบแซนไทน์ มีเมืองหลวงอยู่ที่
กรุงคอนสแตนติโนเปิล
พระเจ้าคอนสแตนตินได้เห็นนิมิตจากสวรรค์
ในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต
พระเจ้าคอนสแตนตินก็หันไปพึ่งศาสนาในขณะที่นอนป่วยอยู่บนเตียง
มีเรื่องเล่าว่าเมื่อครั้งที่พระเจ้าคอนแสตนตินจะข้ามแม่น้ำไปยังกรุงโรมในสมัยสงครามกลางเมือง
เขาได้เห็นนิมิตจากสวรรค์(ซึ่งก็พึ่งจะแปลความหมายออกตอนนอนป่วย) ทำให้พระองค์หันไปนับถือศาสนาคริสต์
ส่งผลให้ศาสนาคริสต์กลายเป็นศาสนาของจักรวรรดิ
ซึ่งกฎหมายของพวกโรมันบังคับให้ประชาชนต้องหันมานับถือศาสนาคริสต์
จนกระทั่งแพร่หลายในยุโรปในที่สุด
หลังจากนั้นมาโรมันตะวันตกเริ่มอ่อนแอมากข้นเรื่อยๆ
เนื่องจากถูกคุกคามจากชนเผผ่าต่างๆ และในที่สุดก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของพวกวิสิกอธ
หรือชนเผ่าเยอรันค.ศ.476
เผ่าเยอรมันได้ปลดจักรพรรดิองค์สุดท้ายของโรมันตะวันตก(โรม)
ถือเป็นการสิ้นสุดจักรวรรดิโรมัน ดินแดนยุโรปจึงแยกแยกออกเป็นอาณาจักรต่างๆ
เกิดความวุ่นวายทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ชนเผ่าที่สำคัญในยุคนั้นได้แก่ แฟรงค์
ออสโตรกอธ ลอมบาร์ด แองโกล-แซกซอน เบอร์กันเดียน วิสิกอธ แวนดัล เป็นต้น
การสวมมงกุฏให้ดำรงตำแหน่ง
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จากพระสันตะปาปา
ค.ศ.800
พระเจ้าชาร์เลอมาญ ได้รวบรวมดินแดนในยุโรปเป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ
และได้รับการอภิเษกจากพระสันตะปาปาซึ่งเป็นผู้นำของศาสนาคริสต์ ภายใต้ชื่อ “จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire)” หลังสิ้นสมัยพระเจ้าชาร์เลอมาญ ยุโรปถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน ต่อมากลายเป็น
ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี
การล่มสลายของกรุงคอนสแตนติโนเปิล(โรมันตะวันออก)
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถือเป็นการสิ้นสุดของยุคมืดด้วย กล่าวคือ
หลังจากการล่มสลายของกรุงโรม(โรมันตะวันตก) โรมันทางฝั่งตะวันออก(ไบแซนไทน์)
ก็ค่อยๆลืมเลือนความยิ่งใหญ่ของตัวเองในฟากตะวันตกไปหมด
จักรพรรดิองค์ต่อๆมาก็ไม่ใช่คนจากอิตาลีอีกต่อไป
แต่เป็นชาวกรีกดั้งเดิมที่อยู่มาก่อนพวกโรมัน
พวกกรีกเมื่อไม่รู้สึกถึงคุณค่าของความเป็นโรมันก็ตั้งชื่ออาณาจักรใหม่เป็น“ไบแซนไทน์”(Byzantine) ตามชื่อเก่าของเมืองคอนสแตนติโนเบิล
เมืองที่มั่งคั่งที่สุดในยุโรปยุคมืด
แต่ชาวอาหรับที่ขยายอำนาจออกมาก็ทำให้ไบแซนไทน์เสื่อมอำนาจลงเรื่อยๆ
จนในที่สุดก็มาเสียกรุงให้กับชาวเติร์ก (Turk) ทำให้กรุงไบเซนติอุมกลายเป็นเมืองหลวงในชื่อ
อิสตันบูล (Istanbul) จนถึงปัจจุบัน
ระบบฟิวดัล Feudalism
ยุโรปยุคกลาง
เป็นการปกครองในระบบขุนนาง หรือที่เรียกว่า ระบบฟิวดัล หรืออาจเรียกอีกชื่อว่า
ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านาย lord กับ ข้า ในเรื่องเกี่ยวกับ การหาผลประโยชน์ของที่ดิน
เริ่มจากกษัตริย์มอบที่ดินให้ขุนนาง เพื่อตอบแทนความดีความชอบ
ขุนนางทำหน้าที่ปกครองผู้คนที่อาศัยอยู่ในที่ดิน
และมีพันธะต่อกษัตริย์โดยส่งคนไปช่วยรบ
ระบบฟิวดัล
ลักษณะ
สำคัญ ของระบบนี้ คือ การจัดสรรที่ดินตามระดับชั้น เป็นทอด ๆ ส่งผลให้เกิดความจงรักภักดีระหว่าง
นาย กับ ข้า โดยตรง กษัตริย์จึงไม่มีอำนาจในการควบคุมประชาชนจริง ๆ
การจัดระเบียบที่ดิน
โดยขุนนางจะสร้างปราสาท เพื่อเป็นศูนย์กลาง รอบนอกเป็นหมู่บ้าน
มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกือบครบวงจร ผลิตสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชิวิต
รวมถึงการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เหล่านี้ถูกเรียกว่าระบบ “แมเนอร์” (Manor)
คริสตศาสนา (ศาสนจักร)
หลัง
สมัยพระเจ้าคอนสแตนติน ได้ประกาศให้ชาวโรมันนับถือศาสนาคริสต์ คริสตจักร
จึงเป็นสถาบันที่พึ่งทางใจและเป็นสื่อกลางระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ มีประสิทธิภาพ
เป็นระบบระเบียบ และมีความเข้มแข็ง องค์สันตะปาปา เป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุด
สามารถกำหนดนโยบายทุกอย่าง รวมถึงการเมือง
ใน
ยุคแรก ๆ คริสตจักรร่วมมือกับจักรวรรดิ์ ในการเรื่องการเมืองการปกครอง
ทำให้มีอิทธิพลสูงสุด ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งภูมิปัญญา ต่าง ๆ
นอกจากนี้
องค์สันตะปาปา ยังมีอำนาจกระทำ “บัพชนียกรรม” บุคคลใดก็ตามที่ต้องสงสัยว่ามีความเห็นขัดแย้ง
กระทำการไม่เป็นไปตามคำสั่ง หรือนโยบายของคริสตจักร คือการขับไล่ให้ออกจากศาสนา
ซึ่งถือเป็นโทษสูงสุด ทำให้ทุกคนเกรงกลัวการลงโทษ
คริสต์ศาสนา
ค.ศ.955 จักรพรรดิออตโต ที่ 1 ของเยอรมัน สถาปนาเป็น Holy
Romans Empire H.R.E. แต่เกิดการขัดแย้งเรื่องอำนาจกับคริสตจักร
ส่งผลให้ต่อสู้ชิงอำนาจ และเยอรมันเป็นฝ่ายพ่ายแพ้
ทำให้จักรพรรดิองค์ต่อมาต้องขึ้นกับคริสตจักรโดยสิ้นเชิง
ศตวรรษที่
9-14 ระบบสวามิภักดิ์ พัฒนาสูงสุด ขุนนางท้องถิ่นมีอิทธิพล และอำนาจ
สามารถต่อรองกับกษัตริย์ได้ ทำให้เกิดการเมืองแบบหลายศูนย์อำนาจขึ้นทั่วยุโรป
ระหว่างนี้เกิดสงครามครูเสดขึ้น
ค.ศ.1095-1291
สงครามครูเสด
สงคราม
ครูเสด (The
Crusades - Cross ไม้กางเขน) คือ สงครามระหว่างศาสนา
ซึ่งอาจหมายถึงสงครามระหว่างชาวคริสต์ต่างนิกายด้วยกันเอง
หรือชาวคริสต์กับผู้นับถือศาสนาอื่นก็ได้
แต่โดยส่วนใหญ่มักหมายถึงสงครามครั้งใหญ่ระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์
ในช่วงศตวรรษที่ 11 ถึง 13
สงครามครูเสด
ในตอนเริ่มสงครามนั้นชาวมุสลิมปกครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์
อยู่ ดินแดนแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญของสามศาสนาได้แก่ อิสลาม ยูได และ คริสต์
ในปัจจุบันดินแดนแห่งนี้คือ ประเทศอิสราเอล หรือ ปาเลสไตน์
ค.ศ.1055 เมื่อพวกเซลจูคเติร์ก เข้ามายึดครองเมืองแบกแดด พวกสุลต่านไม่ได้ปฏิบัติต่อชาว
คริสเตียนเหมือนเช่นเคย พวกคริสเตียนในยุโรปจึงโกรธมาก
ค.ศ.1095
องค์สันตะปาปาออร์บานที่ 2 (Pope Urban II)ได้เรียกประชุมขึ้นที่เคลอร์มองต์
ใน ได้ประกาศให้ทำสงครามครูเสดต่อ "พวกนอกศาสนา"
(ซึ่งพวกคริสเตียนในเวลานั้นหมายถึงบรรดามุสลิมีนโดยเฉพาะ)องค์สันตะปาปาได้ปลุกระดมให้พวกคริสเตียนเข้าร่วมในสงครามครูเสด
โดยประกาศว่า
"ผู้
ใดถือไม้กางเขนหรือประดับไม้กางเขนเพื่อไปในสงครามครูเสด
ย่อมถูกยกเว้นจากการถูกฟ้องร้องเรื่องหนี้สิน ไม่ต้องเสียภาษี
และบุคคลภาพผู้นั้นอยู่ในพิทักษ์ของศาสนจักร ถูกไถ่บาปทั้งหมดและจะได้เข้าสวนสวรรค์อันสถาพร"
การเริ่มรณรงค์ดังกล่าวนี้เอง
เป็นที่มาของสงครามศาสนา หรือ
"สงครามครูเสด"สงครามครูเสดเพื่อยึดครองแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ครั้งแรก
อีก
ตำนานกล่าวว่า เนื่องจากพวกคริสต์กลุ่มหนึ่งมีความเชื่อกันว่า
โลกนี้จะถึงการอวสานเมื่อครบ ค.ศ. 1000 เรียกว่า Millennium และเชื่อว่าพระเยซูพร้อมด้วยสาวกจะเสด็จมาโปรดชาวโลกในวันนั้น
พวก
คริสเตียนจำนวนมากจึงได้ละถิ่นฐานบ้านช่องของตนเดินทางไปชุมนุมกันใน ปาเลสไตน์
เพื่อรอวันโลกแตก แต่เมื่อถึง ค.ศ. 1000 โลกไม่ได้อวสานตามที่พวกนี้คิดไว้
ประกอบกับพวกคริสต์จำนวนมากไม่ได้รับการปฏิบัติด้วยดีจากพวกสัลยูก
ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจปกครองอยู่ในเวลานั้น
พวกคริสเตียนนี้เมื่อกลับ
บ้านไปแล้ว(คือทวีปยุโรป) ต่างพกเอาความเคียดแค้น
ไปเล่าเรื่องแล้วแต่งเติมสิ่งที่ได้ประสบในปาเลสไตน์ให้พวกคริสเตียนด้วยกัน ฟัง
มีคริสเตียนคนหนึ่ง ชื่อ ปิเตอร์ ได้ฉายาว่า ปิเตอร์ เดอะ เฮอร์มิต (ปิเตอร์
นักพรต ถือไม้เท้าท่องเที่ยวไปในเมืองต่าง ๆ ในทวีปยุโรป
ได้ป่าวประกาศข่าวเรื่องที่พวกคริสเตียนไปอยู่ในปาเลสไตน์เพื่อรอวันโลกแตก
แล้วได้รับการข่มเหงจากพวกสัลยูก พร้อมทั้งได้ปลุกระดมให้พวกคริสเตียนรวมกำลังกันไปตีปาเลสไตน์กลับคืนมา)
สงคราม
ครูเสด มีการทำสงครามและพักรบ เป็นช่วง ๆ หลายครั้ง ยุติลงเมื่อ ค.ศ.1291
เมื่อพวกครูเสดถูกอียิปต์ยึดครอง
ทำให้กองทัพจากยุโรปไม่สามารถเอาชนะจักรวรรดิมุสลิมได้
กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในศึกครั้งนี้
อาทิ พระเจ้าริชาร์ด ใจสิงห์ (Richard the lionheart) อังกฤษ และ
ซาลาดิน ของฝั่งอิสลาม
กำเนิดชาติรัฐ
(เริ่มประวัติการก่อตั้งเป็นประเทศต่าง ๆ ในยุโรป)
ค.ศ.1273 จักรพรรดิเป็นตำแหน่งไม่มีอำนาจ
ขุนนางและผู้ครองแคว้นต่าง ๆ แตกแยกออกเป็นรัฐเล็กรัฐน้อย
ระบบศักดินาเริ่มเสื่อมสลาย เกิดสงคามระหว่างขุนนาง ภายในประเทศ
ศตวรรษที่
14-15 ขุนนางเริ่มเสื่อมอำนาจ เปิดโอกาสให้ระบบกษัตริย์รวบรวมก่อตั้งเป็น “ชาติรัฐ” ขึ้นมา ระหว่างนี้เกิดสงครามร้อยปี
ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสขึ้น
สงครามร้อยปี
สงครามร้อยปี
เป็นความขัดแย้งระหว่าง อังกฤษและฝรั่งเศส นาน 116 ปี นับแต่ ค.ศ. 1337 ถึง 1453
เริ่ม
จากการอ้างสิทธิ์ของกษัตริย์อังกฤษ เหนือบัลลังก์ฝรั่งเศส
คำที่นักประวัติศาสตร์ใช้นิยามสงครามความขัดแย้งแบ่งได้สามถึงสี่ช่วง คือ
สงครามยุคเอ็ดเวิร์ด(Edwardian War
1337-1360)
สงครามยุคแครอไลน์
(Caroline
War 1369-1389)
สงครามยุคแลงคาสเตอร์
(Lancastrian
War 1415-1429)
อังกฤษ
กับฝรั่งเศส เป็นไม้เบื่อไม้เมากันมานาน
ชาวนอร์มังดีบุกไปชิงราชบังลังก์ที่เกาะอังกฤษเพราะยังอยากที่จะได้ดินแดน
ของบรรพบุรุษกลับมาอีกครั้ง อังกฤษกับฝรั่งเศสจึงทำสงครามกันเรื่อยมา
สงครามร้อยปี
ช่วงหลังของสงครามอังกฤษสามารถบุกเข้าไปยึดดินแดนของฝรั่งเศสได้จนเกือบจะสิ้นชาติ
แต่ก็มีการมาถึงของหญิงสาว “ฌานดาร์ค” (โจน
ออฟ อาร์ค) Jon of Arc สาวชาวนาผู้ได้รับนิมิตจากพระเจ้าให้นำฝรั่งเศสไปสู่เอกราชจากพวกอังกฤษ
โจน
เป็นผู้นำทัพฝรั่งเศสต่อสู้ จนสามารถช่วยให้ กษัตริย์ชาร์ล ที่ 7
สถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ฝรั่งเศส
แต่ไม่ทันที่จะจบสงคราม
โจน ก็ถูกฝรั่งเศสทรยศ จับตัวส่งไปให้อังกฤษเผาทั้งเป็น ในข้อหาว่าเป็นแม่มด
แต่การกระทำของโจนก็ไม่เสียเปล่าพวกฝรั่งเศสขับไล่อังกฤษออกจากประเทศได้สำเร็จ
นักบุญโจน ออฟ อาร์ค
ผู้ถือว่าเป็นหนึ่งในสาม นักบุญอุปถัมภ์ประเทศฝรั่งเศส
วีรกรรมของ
โจน ทำให้ชาวฝรั่งเศสร่วมมือเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันต่อสู้เพื่อประเทศชาติ จนเกิดการสร้างชาติ "ฝรั่งเศส"
ในกาลต่อมา
ในที่สุด
คริสต์ศาสนาได้ประกาศแต่งตั้งให้เป็น นักบุญโจน ออฟ อาร์ค ผู้ถือว่าเป็นหนึ่่งในสาม
นักบุญอุปถัมภ์ประเทศฝรั่งเศส
นักปราชญ์แห่งยุค
-
เซนต์ออกัสติน ค.ศ.354-430
เขียนเรื่อง The city of
god เป็นวรรณกรรมทางศาสนาที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดของชาวคริสต์
-
เซนต์โธมัส อะไควนัส ค.ศ.1224-1274
เขียนเรื่อง Summa Theological
เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อและศรัทธาอย่างมีเหตุผล
นักปราชญ์แห่งยุค
การล่มสลายของกรุงคอนสแตนติโนเปิล
(โรมันตะวันออก)
หลังจากการล่มสลายของกรุงโรม
(โรมันตะวันตก) โรมันทางฝั่งตะวันออก
(ไบแซนไทน์) ก็ค่อยๆ ลืมเลือนความยิ่งใหญ่ของตัวเองในฟากตะวันตกไปหมด
จักรพรรดิองค์ต่อๆ มาก็ไม่ใช่คนจากอิตาลีอีกต่อไป แต่เป็นชาวกรีกดั้ง
เดิมที่อยู่มาก่อนพวกโรมัน
พวกกรีกเมื่อไม่รู้สึกถึงคุณค่าของความเป็นโรมันก็ตั้งชื่ออาณาจักรใหม่เป็น
“ไบแซนไทน์” (Byzantine) ตามชื่อเก่าของเมืองคอนสแตนติโนเบิล
เมืองที่มั่งคั่งที่สุดในยุโรปยุคมืด
แต่ชาวอาหรับที่ขยายอำนาจออกมาก็ทำให้ไบแซนไทน์เสื่อมอำนาจลงเรื่อยๆ
จนในที่สุดก็มาเสียกรุงให้กับชาวเติร์ก (Turk) ทำให้กรุงไบเซนติอุมกลายเป็นเมืองหลวงในชื่อ
อิสตันบูล (Istanbul) จนถึงปัจจุบัน
ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
ในปลายสมัยกลาง
การศึกษาและการค้าเจริญก้าวหน้า
ทำให้ผู้คนในสมัยนี้กระตือรือร้นแสวงหาความรู้ใหม่ๆ
ที่สามารถอธิบายเหตุการณ์และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติได้
รวมทั้งเปิดโลกทัศน์เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับความเจริญต่างๆ
ซึ่งแต่เดิมถูกปิดกั้นด้วยความเชื่อทางศาสนาว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลกนี้ล้วนเป็นสิ่งที่พระเจ้าบันดาลขึ้น
พัฒนาการดังกล่าวเรียกว่า “ขบวนการมนุษย์นิยม (Humanism)” อนึ่ง
การเรียนรู้ที่สำคัญในสมัยนี้คือการฟื้นฟูศิลปวิทยาการสมัยคลาสสิก
ซึ่งเป็นความเจริญของกรีกและโรมันในอดีต
ขบวนการมนุษย์นิยม
ขบวนการมนุษย์เริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่
14 ที่แหลมอิตาลี โดยเฉพาะที่นครฟลอเรนซ์ (Florence) โรม และเวนิส
โดยกลุ่มนักวิชาการซึ่งศึกษาวรรณกรรมคลาสสิกและศาสตร์ต่างๆ
หลังจากนั้นในคริสต์ศตวรรษที่ 15
ได้มีผลงานซึ่งเขียนด้วยภาษาท้องถิ่นและสะท้อนความคิดด้านมนุษย์นิยมแพร่หลายในยุโรปตะวันตก
เนื่องจากขณะนั้นมีการประดิษญ์แท่นพิมพ์หนังสือได้จำนวนมาก
การพิมพ์ไม่เพียงแต่เผยแพร่แนวคิดแบบมนุษย์นิยมในสังคมยุโรปเท่านั้น
หากยังส่งเสริมให้เกิดการผลิตผลงานของนักวิชาการและกวีในดินแดนต่างๆ ด้วย
ความเจริญรุ่งเรืองในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
ผลงานที่โดเด่นในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
ได้แก่ วรรณกรรมและศิลปกรรม
ด้านวรรณกรรม
ผู้บุกเบิกแนวคิดด้านมนุษย์นิยมในแหลมอิตาลีคือ
เพราช (Petrarch)
ซึ่งรับรูปแบบจากวรรณกรรมโรมันและถ่ายทอดเป็นผลงานประเภทกวีนิพนธ์ที่มีอิทธิพลต่อความคิดของนักมนุษย์นิยมรุ่นต่อมา
ส่วนนักเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการของแหลมอิตาลี คือ
มาคิอาเวลลี (Machiavelli) ซึ่งเป็นทั้งนักรัฐศาสตร์และนักประวัติศาสตร์
ผลงานที่สำคัญของเขาคือหนังสือเรื่อง The Prince หรือเจ้าชาย
ซึ่งสะท้อนแนวคิดในการบริหารและการปกครอง
ที่เน้นด้านปฏิบัติมากกว่าอุดมการณ์หรือจริยธรรมของผู้ปกครอง
นอกจากนี้นอกแหลมอิาลีก็มีนักมนุษย์นิยมที่มีผลงานโดเด่นด้วยที่สำคัญได้แก่
อีรัสมัส (Erasmus) ชาวเนเธอร์แลนด์
ซึ่งประยุกต์แนวคิดแบบกรีกและโรมันในการวิเคราะห์คัมภีร์ไบเบิล
โดยใช้หลักเหตุผลประกอบความศรัทธาในศาสนาแทนความเชื่อแบบงมงาย และนักมนุษย์นิยมชาวอังกฤษชื่อ
เซอร์ ทอมัส มอร์ (Sir Thomas More) เขียนหนังสือเกี่ยวกับรัฐในอุดมคติชื่อ
Utopia (ยูโทเปีย)
ซึ่งมีชื่อเสียงแพร่หลายจนกระทั่งปัจจุบันและคำว่า “ยูโทเปีย”
ได้กลายเป็นคำศัพท์ที่หมายถึงรัฐในอุดมคติ
ด้านศิลปกรรม
ศิลปกรรมที่โดดเด่นในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
ได้แก่ ผลงานด้านจิตรกรรม ซึ่งเริ่มในแหลมอิตาลีก่อนแพร่หลายไปในดินแดนอื่น
ลักษณะเด่นของงานจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ได้แก่
การสะท้อนลักษณะที่เหมือนจริงทั้งมนุษย์และธรรมชาติ เช่น
ภาพคนที่มีสรีระและสัดส่วนที่ถูกต้อง การใช้ภูมิทัศน์ของท้องทุ่งและชนบทเป็นฉากหลังของภาพ
และการใช้หลักของเส้นทัศนียภาพ (Perspective) ที่สะท้อนระยะใกล้ไกลของวัตถุในภาพ
จิตรกรอิตาลีที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ เช่น เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo
da Vinci) ซึ่งวาดภาพ “Mona Lisa” และ “The
Last Supper” หรือไมเคิลแองเจโล (Michelangelo) ซึ่งมีชื่อเสียงในการสร้างงานประติมากรรมและจิตรกรรม
ผลงานจิตรกรรมที่โดดเด่น ได้แก่
จิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับการสร้างโลกบนเพดานของวิหารน้อยซิสตีน (Sistine
Chapel) ในนครวาติกัน และราฟาเอล ซาานซิโอ (Raphael Sanzio) ซึ่งวาดภาพ “School of Athens” บนฝาผนังห้องสมุดของสันตะปาปา
นอกจากนี้ในแคว้นแฟลนเดอร์ยังมีผลงานจิตรกรรมของกลุ่ม “เฟลมิส”
(Flemish) ซึ่งสร้างสรรค์งานโดยได้รับอิทธิพลจากผลงานของจิตรกรในแหลมอิตาลี
ลักษณะเด่นของงานจิตรกรในแหลมอิตาลี ลักษณะเด่นของงานจิตรกรรมแบบเฟลมิสคือ
การวาดภาพสีน้ำมันบนผืนผ้าใบที่สะท้อนทิวทัศน์และวิถีชีวิตของชนบท อนึ่ง
ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการนี้ จิตรกรชาวเยอรมันได้คิดค้นวิธีทำภาพพิมพ์
และมีการทำภาพพิมพ์ประกอบในหนังสือ
เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da
Vinci) จิตรกรชาวอิตาลี
ไมเคิลแองเจโล (Michelangelo)
ผลกระทบของการฟื้นฟูศิลปวิทยากการต่อพัฒนาการของยุโรป
การศึกษา
การคิดค้นแท่นพิมพ์ช่วยให้การศึกษาขยายตัวอย่างกว้างขวาง
เพราะทำให้องค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับวิทยาการสมัยคลาสสิกแพร่หลายในสังคมยุโรป
นอกจากนี้การศึกษาโดยใช้หลักเหตุผลของกลุ่มมนุษย์นิยมยังเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และทำให้เกิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ที่เริ่มในคริสต์ศตวรรษที่
16 และสร้างความก้าวหน้าให้กับสังคมโลกจนถึงปัจจุบัน
ศาสนา
แนวคิดแบบมนุษย์นิยมที่ส่งเสริมให้ใช้หลักเหตุผลแทนความเชื่อแบบงมงายได้ส่งผลกระทบต่ออิทธิพลของคริสตจักรที่ชี้นำความคิดของผู้คนมาตลอดสมัยกลาง
เนื่องจากกลุ่มปัญญาชนเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาที่ยึดถือกันมานับพันปี
การพัฒนาความคิดแบบมนุษย์นิยมทำให้ชาวยุโรปเริ่มหลุดพ้นจากกรอบของศาสนาคริสต์
และทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาในเวลาต่อมา เหตุการณ์ต่างๆ
เหล่านี้ทำให้ศาสนาคริสต์ในยุโรปเสื่อมอิทธิพล และถือว่าเป็นการสิ้นสุดของสมัยกลาง
ประวัติศาสตร์สมัยใหม่
(Modern
History) เริ่มตั้งแต่การสิ้นสุดของประวัติศาสตร์สมัยกลางจนถึงปัจจุบัน
แต่ก็มีบางกลุ่มที่ถือว่าสมัยนี้สิ้นสุดในราวค.ศ. 1900
และได้แบ่งออกเป็นอีกสมัยหนึ่งคือ ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน
เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดประวัติศาสตร์สมัยใหม่จนถึงปัจจุบัน
เพราะระยะช่วงนี้เกิดเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ ขึ้นมากมาย
มีรายละเอียดที่มากจนสามารถแบ่งออกเป็นอีกสมัยหนึ่งได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น