สมัยโบราณ

สมัยโบราณ



ภาพยุคโบราณ


สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ ช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรจดบันทึกเรื่องราวของสังคม นักโบราณคดีเป็นผู้ศึกษาเรื่องราวของสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นหลักโดยศึกษาจากซากพิมพ์ดึกดำบรรพ์หรือพิมพ์หิน โบราณสถาน โบราณวัตถุ โครงกระดูก สิ่งของเครื่องใช้ ภาพวาดตามผนังหรือบนสิ่งของต่างๆ เป็นต้น โดยสมัยก่อนประวัติศาสตร์มีการแบ่งเป็นยุคย่อย คือ ยุคหินกับยุคโลหะ ทั้งนี้ยุคหินยังมีการแบ่งออกเป็นยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และ ยุคหินใหม่ ส่วนยุคโลหะก็มีการแบ่งเป็นยุคสำริดกับยุคเหล็ก



เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักนำหินมาปรับใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์และอาวุธ นักโบราณคดีกำหนดให้ยุคหินของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (สากล) อยู่ระหว่าง 2.5 ล้านปี ถึงประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว แต่เนื่องจากสิ่งที่เหลือเป็นหลักฐานอยู่จนถึงปัจจุบันมีเพียงชนิดเดียวคือหิน ดังนั้นเราจึงเรียกยุคนี้ว่า ยุคหิน ทั้งนี้ยุคหินตามพัฒนาการเทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้ยังแบ่งออกเป็น 3 ยุคย่อย คือ ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และยุคหินใหม่ ดังนี้

1. ยุคหิน (Stone Age)

1.1 ยุคหินเก่า (Paleolithic Period หรือ Stone Age) อยู่ระหว่าง 2,500,000 -10,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ในยุคนี้อาศัยอยู่ในถ้ำหรือเพิงผา ยังไม่มีความคิดสร้างที่อยู่อาศัยโดยใช้วัสดุธรรมชาติหรือตั้งรกรากถาวร ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ หาปลา และเก็บหาผลไม้ในป่า เมื่ออาหารตามธรรมชาติหมดก็อพยพไปหาแหล่งอาหารที่อื่นต่อไป มนุษย์ยุคหินเก่ารู้จักประดิษฐ์เครื่องมืออย่างหยาบๆ เครื่องมือที่ใช้ทั่วไป คือ เครื่องมือหินกะเทาะ ที่มีลักษณะหยาบ ใหญ่ หนา กะเทาะเพียงด้านเดียวหรือสองด้าน ไม่มีการฝนให้เรียบ มนุษย์ยุคหินเก่ารู้จักนำหนังสัตว์มาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม รู้จักใช้ไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ให้แสงสว่าง ให้ความปลอดภัย และหุงหาอาหาร มีการฝังศพ ทำพิธีกรรมเกี่ยวกับการตาย และมีการนำเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธต่างๆ ของผู้ตายฝังไว้ในหลุมด้วย นอกจากนี้มนุษย์ยุคหินเก่ายังรู้จักสร้างสรรค์งานศิลปะ ซึ่งพบภาพวาดตามผนังถ้ำที่ใช้สีฝุ่นสีต่างๆ ได้แก่ สีดำ น้ำตาล ส้ม แดงอ่อน และเหลือง ภาพที่วาดส่วนใหญ่เป็นภาพสัตว์ เช่น วัวกระทิง ม้าป่า กวางแดง เป็นต้น ภาพวาดที่มีชื่อเสียงของมนุษย์ยุคหินเก่าอยู่ที่ถ้ำลาสโก ประเทศฝรั่งเศส

หลักฐานเครื่องมือหินที่นักโบราณคดีพบตามที่ต่างๆ เช่น ทวีปยุโรป เอเชีย ออสเตรเลีย และทวีป อเมริกา ทำให้มีการตั้งชื่อมนุษย์ยุคนี้ตามสถานที่ที่พบหลักฐาน เช่น มนุษย์ชวา พบที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย มนุษย์ปักกิ่ง พบที่ถ้ำใกล้กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน มนุษย์นีแอนเดอร์ธัล พบที่หุบเขาแอนเดอร์ ประเทศเยอรมนี มนุษย์โครมันยองพบที่ถ้ำโครมันยอง ประเทศฝรั่งเศส มนุษย์โครมันยองเป็นมนุษย์ยุคหินเก่ารุ่นสุดท้าย (อายุระหว่าง 30,000-17,000 ปีมาแล้ว) ที่ค้นพบและมีลักษณะเหมือนมนุษย์ปัจจุบัน

1.2 ยุคหินกลาง (Mesolithic Period หรือ Middle Stone Age) อยู่ระหว่าง 10,000-6,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้รู้จักทำเครื่องมือหินที่มีความประณีตมากขึ้นด้วยการกระเทาะ ผิวด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านออกให้เกิดความคม ทำให้เครืองมือหินในยุคนี้มีรูปทรงที่เหมาะแก่การใช้งานมากขึ้นกว่าเดิม เครื่องมือยุคหินกลางที่พบมีทั้งเครื่องมือสับ ตัด ขุด และทุบ

หลักฐานเครื่องมือหินของมนุษย์ในยุคหินกลางพบในทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย โดยพบครั้งแรกในเวียดนามเรียกว่าวัฒนธรรมฮัวบิเนียน จัดเป็นวัฒนธรรมยุคหินกลางของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทยด้วย

1.3 ยุคหินใหม่ (Neolithic Period หรือ New Stone Age) อยู่ระหว่าง 6,000 -4,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้มีความเจริญทางวัตถุมากกว่ายุคหินกลาง รู้จักควบคุมธรรมชาติมากขึ้น รู้จักพัฒนาการทำเครื่องมือหินอย่างประณีตโดยมีการขัดฝนหินทั้งชิ้นให้เป็นรูปร่างลักษณะต่างๆ เพื่อให้เครื่องมือมีประสิทธิภาพในการใช้สอยมากขึ้นกว่าเครื่องมือรุ่นก่อนหน้านี้ เช่น มีดหินที่สามารถตัดเฉือนได้แบบมีดโลหะ มีการต่อด้ามยาวเพื่อใช้แผ่นหินลับคมเป็นเสียมขุดดิน หรือต่อด้ามไม้สำหรับจับเป็นขวานหิน สามารถปั้นหม้อดินและใช้ไฟเผา สามารถทอผ้าจากเส้นใยพืชและทอเป็นเชือกทำเป็นแหหรืออวนจับปลา ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งที่จำแนกมนุษย์ยุคหินใหม่ออกจากมนุษย์ยุคหินกลางก็คือการที่มนุษย์ยุคนี้รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ในระดับที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น มีการปลูกข้าวและพืชอื่นๆ เช่น ถั่ว ฟัก บวบ และเลี้ยงสัตว์หลายชนิดมากขึ้น เช่น แพะ แกะ และ วัว ซึ่งก็คงทั้งไว้ใช้งานและเป็นอาหาร
วัฒนธรรมยุคหินใหม่พบอยู่ทั่วโลก แต่หลักฐานสำคัญที่มีลักษณะโดดเด่น คือ การสร้างอนุสาวรีย์หิน (Megalithic) ที่มีชื่อเสียง คือ สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) ในประเทศอังกฤษ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อใช้คำนวณเวลาทางดาราศาสตร์ เพื่อพิธีกรรม เพื่อบวงสรวงดวงอาทิตย์ และเพื่อผลผลิตทางการเพาะปลูก
2. ยุคโลหะ (Metal Age) เริ่มเมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอันแสดงถึงการพัฒนาความสามารถทางความคิด ด้วยการมีควาสามารถ นำโลหะมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้นั่นเอง ในระยะแรกของยุคโลหะจะพบว่าพวกเขารู้จักหลอมทองแดงและดีบุกซึ่งเป็นโลหะที่ใช้อุณหภูมิไม่สูงนักในการหลอม ต่อมาจึงพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีขึ้นมาจนสามารถหลอมเหล็กได้ ซึ่งการหลอมเหล็กต้องใช้อุณหภูมิสูง นักโบราณคดีจึงแบ่งยุคโลหะออกเป็น 2 ยุคตามความแตกต่างของระดับเทคโนโลยีและวัสดุที่นำมาใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ ดังนี้
2.1 ยุคสำริด (Bronze Age) การเริ่มต้นของยุคสำริดในแต่ละภูมิภาคจะต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่จะเริ่มระหว่างประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว ในช่วงเวลานี้มนุษย์รู้จักนำทองแดงผสมกับดีบุกหลอมรวมกันกลายเป็นโลหะผสมที่เราเรียกว่า สำริด มาใช้ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธที่มีคุณภาพดีกว่าที่ทำจากหินขัดมาก การดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคนี้ก็เปลี่ยนไปจากการเป็นชุมชนเกษตรกรรมเล็กๆ กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่เราเรียกว่าชุมชนเมือง มีการจัดแบ่งความสัมพันธ์ของคนในสังคมตามความสัมพันธ์และความสามารถ ซึ่งพัฒนาการนี้ทำให้สังคมมีความมั่นคงและมีการสั่งสมอารยธรรมได้อย่างรวดเร็วกว่าที่ผ่านมา แหล่งอารยธรรมสำคัญที่มีพัฒนาการจากสังคมสมัยหินใหม่สู่สมัยสำริด เช่น แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียในภูมิภาคเอเชีย-ตะวันตก แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ในประเทศอียิปต์ แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศอินเดีย และแหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงเหอในประเทศจีน เป็นต้น
2.2 ยุคเหล็ก (Iron Age) เริ่มเมื่อประมาณ 3,200 ปีมาแล้ว เป็นช่วงของการพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ต่อเนื่องจากยุคสำริด หลังจากที่มนุษย์สามารถนำทองแดงมาผสมกับดีบุกและหลอมเป็นโลหะผสมได้แล้ว มนุษย์ก็คิดค้นหาวิธีนำเหล็กซึ่งเป็นโลหะที่มีความแข็งและทนทานกว่าสำริดมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธ ด้วยการใช้อุณหภูมิในการหลอมที่สูงกว่าการหลอมสำริด แล้วจึงตีโลหะเหล็กในขณะที่ยังร้อนอยู่ให้เป็นรูปทรงที่ต้องการ เนื่องจากเหล็กใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้มีความเหมาะสมกับงานการเกษตรที่ต้องใช้ความแข็งแรงมากกว่าสำริด และมีความทนทานกว่าด้วย จึงทำให้มนุษย์ยุคเหล็กสามารถทำการเกษตรได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้เหล็กยังใช้ทำอาวุธที่มีความแข็งแกร่งและทนทานกว่าสำริด จึงทำให้สังคมมนุษย์ยุคนี้ที่พัฒนาเข้าสู่ยุคเหล็กและเข้าสู่ความเป็นรัฐได้ด้วยการมีกองทัพที่มีประสิทธิภาพกว่า สามารถปกป้องเขตแดนของตนเองได้ดีกว่า ทำให้สังคมเมืองของตนมีความมั่นคงปลอดภัย และในที่สุดก็สามารถขยายอิทธิพลไปยังดินแดนอื่นๆ ได้ในเวลาต่อมา       

สมัยประวัติศาสตร์ของตะวันตก แบ่งออกเป็น  4  ยุค ดังนี้

1.ยุคโบราณ 
          1.1 อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติสหรือ เมโสโปเตเมีย
     อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรทีสหรือ เมโสโปเตเมีย เป็นอู่อารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกสมัยโบราณ โดยตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ  2 สาย คือแม่น้ำไทกรีส (Tigris) และแม่น้ำยูเฟรตีส (Euphrates) ซึ่งปัจจุบันนี้ อยู่ในเขตแดนของประเทศอิรักซึ่งมีกรุงแบกแดด เป็นเมืองหลวง แม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์มีเนีย และเอเซียไมเนอร์ไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีส และยูเฟรตีส ตอนล่างเรียกว่าบาบิโลเนีย (Babylonia) เป็นเขตซึ่งอยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย
อาณาบริเวณที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย อาณาเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ                    ติดต่อกับ ทะเลดำ และทะสาบแคสเปียน

ทิศตะวันตกเฉียงใต้      ติดต่อกับ คาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดง และมหาสมุทรอินเดีย

ทิศตะวันตก                ติดต่อกับ ที่ราบซีเรีย และปาเลสไตน์

ทิศตะวันออก              ติดต่อกับ ที่ราบสูงอิหร่าน

     บริเวณแม่น้ำ ไทกริส-ยูเฟรติส หรือบริเวณประเทศอิรักในปัจจุบัน ในอดีตเป็นดินแดนที่มีร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน จนกลายเป็นอู่อารยธรรมของโลก ดินแดนแห่งนี้เป็นเขตที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีแม่น้ำ 2 สายมาบรรจบกัน จึงเหมาะต่อการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ จึงมีชื่ออีกอย่างว่าหนึ่ง ดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ (The Fertile Crescent)  หรือวงโค้วแห่งความอุดมสมบูรณ์ หรือที่รู้จักกัน คือ ดินแดนเมโสโปเตเมีย

 ดินแดนเมโสโปเตเมีย
     ได้พบหลักฐานที่ยืนยันว่าดินแดนบริเวณนี้เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณในแถบเอเชียไมเนอร์ สองฝั่งแม่น้ำทั้งสองเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ตั้งแต่ ฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จนกระทั่งที่ไหลลงสู่อ่าวเปอร์เซีย เป็นแหล่งที่มีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์  เช่นเดียวกับประเทศอียิปต์ และผู้ที่เข้าครอบครองดินแดนแถบนี้ส่วนมากจะเป็นพวกเร่ร่อนในทะเลทราย ถ้ากลุ่มใดเข้มแข็งก็มีอำนาจปกครองอาณาบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ พวกที่อ่อนแอก็จะเร่ร่อนต่อไป  หรืออยู่ในอำนาจผู้ที่แข็งแรงกว่า การปกครองแต่ละเมืองจึงเป็นแบบนครรัฐ มีอิสระ ชนชาติต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในแถบนี้มีหลายเผ่าพันธุ์ กลุ่มชนต่างๆ ที่สร้างสรรค์อารยธรรมและมีหลักฐานปรากฏอยู่ คือ 
1.  ชาวสุเมเรียน (Sumerians)
ชนชาติสุเมเรียน  (Sumerian)  เป็นชนชาติแรกที่สร้างความเจริญขึ้นในบริเวณเมโสโปเตเมีย  ซึ่งเชื่อกันว่า  ชาวสุเมเรี่ยนได้อพยพมาจากที่ราบสูงอิหร่าน  และได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณตอนล่างสุดของลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสตรงส่วนที่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย  โดยเรียกบริเวณนี้ว่า  ซูเมอร์ (Sumer)  นักประวัติศาสตร์ถือว่า ซูเมอร์ คือ แหล่งกำเนิดของนครรัฐ (city-state) แห่งแรกของโลก
การตั้งถิ้นฐานเริมแรกของชาวสุเมเรียนนั้นเป็นเพียงหมูบ้านกสิกรรม  ต่อมาเมื่อรวมกันและได้มีการสร้างชลประทานขึ้น  ทำให้หมูบ้านได้รวมเป็นศูนย์กลางการปกครองในลักษณะของเมือง  เมืองที่สำคัญได้แก่  อิเรค (Erech) อิริดู (Eridu) เออร์  (Ur)  ลาร์ซา (Larsa)  ลากาซ (Lagash) อุมมา (Umma) นิปเปอร์ (Nippur) คิช (Kish)  เป็นต้น  เมืองต่างๆเหล่านี้มีฐานะเป็นศูนย์กลางของการปกครองที่ไม่ขึ้นต่อกันที่เรียกว่า  “นครรัฐ”  โดยแต่ละนครรัฐดูแลความเป็นอยู่ของคนในนครรัฐของตน
ความเจริญของอารยธรรมสุเมเรียน ได้แก่
     1.การประดิษฐ์ตัวอักษร อารยธรรมสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกในดินแดนเมโสโปเตเมียที่รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรได้เมื่อ300 ปีก่อนคริสต์ศักราช เริ่มแรกตัวอักษรของชาวสุเมเรียนเป็นตัวอักษรภาพ ต่อมาได้มี การดัดแปลงคิดสัญลักษณ์ต่างๆ ใช้แทนภาพ ทำให้ง่ายต่อการบันทึกยิ่งขึ้น เครื่องหมายบางตัวใช้แทนเสียงในการผสมคำ มีจำนวนมากกว่า 350 เครื่องหมาย หลักฐานตัวอักษรของชาวสุเมเรียนพบในแผ่นดินเผาตัวอักษรเขียนด้วยก้านอ้อในขณะที่ดินเหนียวยังอ่อนตัวแล้วนำไปตากแดดหรือเผาให้แห้ง ตัวอักษรจึงมีลักษณะคล้ายลิ่ม จึงเรียกว่า อักษรลิ่มหรือคูนิฟอร์ม (Cuneiform) เนื่องจากคำว่า Cuneiform มาจากภาษาละตินว่า Cuneus แปลว่า ลิ่ม

อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรลิ่มของชาวสุเมเรียน


     2.วรรณกรรม วิธีการเขียนตัวอักษรลิ่มไม่สะดวกต่องานเขียนที่มีขนาดยาวๆ เพราะแผ่นดินเหนียวแผ่นหนึ่งบรรจุข้อความได้เพียงเล็กน้อย แต่ชาวสุเมเรียนมี วรรณกรรมที่ท่องจำสืบต่อกันมา เช่น นิยาย กาพย์ กลอน ส่วนเรื่องสั้นมีจารึกไว้ในแผ่นดินเผา งานเขียนส่วนใหญ่เขียนโดยนักบวช จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อศาสนาเป็นส่วนใหญ่ เช่น โคลงสดุดีเทพเจ้า เพลงสวดเป็นต้น วรรณกรรมที่มีชื่อเสียง คือ มหากาพย์กิลกาเมช (Gilgamesh Epic) กล่าวถึงการผจญภัยของกษัตริย์ของนครเออรุค ซึ่งสันนิษฐานว่าคงมีอิทธิพลต่อพระคัมภีร์เก่าเล่มแรกๆ ของพวกฮิบรู 

      3. สถาปัตยกรรม การก่อสร้างของชาวสุเมเรี ยนส่วนใหญ่มักทำด้วยอิฐ ซึ่งทำจากดินเหนียวที่ตากแห้ง เรียกว่า sun-dried brick หรืออิฐตากแห้ง อิฐบางชนิดเป็นอิฐเผาหรืออบให้แห้ง เรียกว่า baked – brick จะทนทานและป้องกันความชื้นได้ดี กว่าอิฐตากแห้งจงใช้ในการก่อสร้างที่ต้องการความมั่นคงถาวร เช่น กำแพงที่นครคิช ที่มี ซากพระราชวังที่ก่อสร้างด้วยอิฐสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงของชาวสุเมเรียน คือ ซิกกูแรต (Ziggurat) ซึ่งมีลักษณะคล้ายพีระมิดของอียิปต์ สร้างขึ้นบนฐานที่ยกสูงจากระดับพื้นดินมีบันไดทอดยาวขึ้นไป ข้างบนเป็นวิหารเทพเจ้า พบที่นครเออร์ เป็นซิกกูแรตที่มีฐานยาว 200 ฟุต กว้าง 150 ฟุต สูง 70 ฟุต สันนิษฐานว่าอาจเป็น Tower of Babel หรือเทาเวอร์ ออฟ บาเบิล ตามที่ปรากฏในพระคัมภีร์ของชาวฮิบรู





ซิกกูแรตสถาปัตยกรรมของชาวสุเมเรียน



    4.ปฏิทินและการชั่งตวงวัดปฏิทินของชาวสุเมเรียนเป็นปฏิทินแบบจันทรคติ คือ เดือนหนึ่งมี 29  1/2 วัน ปีหนึ่งมี 12 เดือน แต่ละเดือนแบ่งออกเป็น 4 สัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งมี 7-8 วัน ส่วนระบบการชั่ง ตวง วัด ของชาวสุเมเรียนแบ่งออกเป็น ทาเลนท์ (talent) เชเคิล (shekel)และมีนา (mina) ดังนั้น 1 เชคเคิล เป็น 1 มีนา 60 มีนา เป็น 1 ทาเลนท์ (1 มีนา ประมาณ 1 ปอนด์กว่า) เรียกว่าใช้ระบบฐาน 60 ซึ่งมีอิทธิพลต่อการแบ่งเวลาในปัจจุบัน (คือ 60 วินาที เป็น 1 นาที 60 นาที เป็น 1 ชั่วโมง)

2.ชาวแอคคัค (Akkad)

     เป็นพวกเร่ร่อนเผ่าเซมิติกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณซีเรียและทะเลทรายอาหรับ ได้เข้ามารุกรานยึดครองพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมโสโปเตเมียเมื่อประมาณ 2,300 ปี ก่อนคริสต์ศักราชโดยมีผู้นำชาวแอคคัดคือ ซาร์กอน (Sargon) ได้ยกทัพยึดครองนครรัฐของชาวสุเมเรียนในซูเมอร์และรวบรวมดินแดนตั้งแต่ฝั่งทะเลเมดิเตอร์เนียนไปจนถึงอ่าวเปอร์เซียเข้าเป็นจักรวรรดิแรกในเมโสโปเตเมีย แต่ยึดครองได้ไม่นานก็ถูกชาวสุเมเรียนล้มล้างอำนาจและจัดตั้งนครรัฐขึ้นมาปกครองใหม่


3. ชาวอมอไรต์ (Amorite)

     เป็นชนเผ่าเซเมติกอพยพจากทะเลทรายอาระเบีย เข้ามายึดครองนครรัฐของชาวสุเมเรียนและสถาปนาจักรวรรดิ บาบิโลเนียขึ้นเมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยมีนครบาบิโลนเป็นศูนย์กลางการปกครอง ซึ่งมีกษัตริย์ที่สำคัญคือพระเจ้าฮัมมูราบี (Hammurabi) ที่ได้รวบรวมกลุ่มต่างๆ ในเมโสโปเตเมียให้อยู่ภายใต้อำนาจการปกครอง ซึ่งผลงานสำคัญของพระองค์คือประมวลกฎหมายฮั มมู ราบี (The Hammura-bi’s Code) เป็นกฎหมายที่ผสมผสานวัฒนธรรมชาวอาหรับกฎของเผ่าเซมิติกและจารีตประเพณีของพวกสุเมเรียน กฎหมายนี้ครอบคลุมด้านชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม เศรษฐกิจการถือครองที่ดินการทำมาหากินและอื่นๆ นอกจากนี้ก็กำหนดบทลงโทษที่เรียกว่า การลงโทษแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน (an eye for an eye, and a tooth for a tooth) กล่าวคือ ถ้าผู้ทำผิดทำให้ใครตาบอด ผู้ทำผิดนั้นก็จะถูกลงโทษด้วยการถูกทำให้ตาบอดเช่น กันจักรวรรดิบาบิโลเนียถูกชาวฮิตไทต์ (Hittite) รุกรานและล่มสลายลงเมื่อ 1,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช




จารึกประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราบี
4. ชาวฮิตไทต์ (Hittite) 
     เป็นชนเผ่าอินโดยูโรเปียนที่ตั้งถิ่นฐานทางตอนใต้รัสเซียได้อพยพขยายตัวมาตามแม่น้ำยูเฟรทีส และเข้าโจมตีทางเหนือของซีเรียและปล้นสะดมกรุงบาบิโลเนียของพวกอมอไรต์เมื่อประมาณ 1,595 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกอมอไรต์จึงหมดอำนาจลง ช่วงเวลาที่พวกฮิตไทต์มีอำนาจในเมโสโปเตเมียนั้นเป็นเวลาเดียวกับที่อียิปต์เรืองอำนาจ ทำให้ทั้งสองอาณาจักรทำสงครามแย่งชิงดินแดนเมโสโปเตเมีย ภายหลังสงบศึกจึงแบ่งพื้นที่กันยึดครอง กล่าวกันว่าพวกฮิตไทต์มีความสามารถในการรบมาก โดยเป็นชนเผ่าแรกที่นำเหล็กมาใช้ในการทำอาวุธรู้จักใช้ม้ารถเทียมม้าทำให้กองทัพเข้มแข็งและเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว
5.แอสสิเรียน (Assyrian) 
     เป็นชนชาตินักรบ  มีวินัย  กล้าหาญ มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงนิเนเวห์ (Nineveh) ได้สร้างอารยธรรมการสลักภาพนูนต่ำ ด้านการรบและการล่าสัตว์  มีการสร้างวังขนาดใหญ่  และสร้างห้องสมุดแห่งแรกของโลก  โดยพระเจ้าแอสซูรบานิปาลที่เมืองนิเนเวห์
6.แคสเดีย(Chaldea)  หรือพวกบาบิโลเนียใหม่  
     เป็นชนเผ่าฮีบรู  ในสมัยพระเจ้าเนบูคัดเดรดซาร์(Nebuchadrezzar)  ได้สร้างพระราชวังขนาดใหญ่และสร้างสวนพฤกษชาติ  บนพระราชวัง เรียกว่า สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน (Hanging Gardens of Babylon) นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก นอกจากนั้นพวก คาลเดีย  ยังมีความรู้เรื่องการชลประทาน  ดาราศาสตร์  และคำนวณการโคจรของดวงอาทิตย์  ในรอบปีได้อย่างถูกต้อง


ภาพวาดสวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น