วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
   ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครอบคลุมพื้นที่ประเทศบรูไน อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม พม่าและติมอร์ตะวันออก ในปัจจุบันบางประเทศมีประวัติศาสตร์ยาวนาน แต่บางประเทศเป็นประเทศที่ตั้งใหม่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่2  
การศึกษาเรื่องพัฒนาการทางประ วัติศาสตร์ในดินแอนแห่งนี้จึงศึกษาในภาพกว้าง โดยจะอธิบายยุคอาณาจักรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อให้เห็นพัฒนาสืบเนื่องจากยุคการสร้างสรรค์อารยธรรมและการเปลี่ยนแปลงก่อนการเข้ามาของชาติตะวันตก อาณาจักรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๖ถึง ๒๓)
-          หลักฐานการศึกษาเรื่องอาณาจักรโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ หลักฐานทางด้านโบราณคดี คือ โบราณวัตถุโบราณสถานซึ่งเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จดหมายเหตุจีนราชวงศ์ต่าง ๆบันทึกชาวต่างชาติที่มาเยือนดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยโบราณตลอดจนจารึกต่างๆ
-          พัฒนาการของอาณาจักรโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกิดจากการรวมตัวของแว่นแคว้นต่างๆในภูมิภาคดังนี้ -อาณาจักรฟูนันหรือพนม ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๖-๑๒มีศูนย์กลางการปกครองอยู่บริเวณที่ราบลุ่มเหนือปากแม่น้ำ

1.อาณาจักรจามปา ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๒๑มีศูนย์กลางการปกครองสมัยแรกบริเวณเมืองสิงหปุระต่อมาย้ายมาศูนย์กลางลงมาทางตอนใต้ที่เมืองวิชัยนคร
2.อาณาจักรสุธรรมวดี ตั้งขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำอิระวดีลงไปถึงทวายสันนิษฐานว่าศูนย์กลางการปกครองเดิมอยู่ ที่สะเทิมต่อมาย้ายไปที่หงสาวดี ทางตอนใต้ขอ่งพม่า
3.อาณาจักรเจินละ ตั้งขึ้นเมื่อประมารณพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖ มีศูนย์กลางอยู่ที่ราบลุ่มน้ำโขง ทางภาคไต้ของประเทศลาว
4.อาณาจักรทวารวดี ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ สันนิษฐานว่ามีอาณาเขตบริวตะวันตกของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบ่างบริเวณเมืองนครชัยศร
5.อาณาจักรศรีวิชัย ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖ มีศูนย์กลางปกครองเคลื่อนย้ายในบางยุคสมัย เช่นที่บริเวณเมืองปาเล็มบังบนเกาะสุมาตรา
6.อาณาจักรศรีเกษตร  ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖ มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองแปรในประเทศพม่า
7.อาณาจักรกัมพูชา  ตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๒๐ มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองพระนครประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน

การปกครอง
อาณาจักรโบราณในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เดิมเป็นเพียงแว่นแคว้นแต่สามารถพัฒนาเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจเหนือดินแดนอื่นได้ด้วยปัจจัยสำคัญ คือ     การรับคติความเชื่อจากศาสนาฮินดูเรื่อผู้นำคือเทพเจ้าที่อวตารลงมาเกิดในโลกมนุษย์นอกจากมีความเชื่อจากพระพุทธศาสนาเรื่องผู้นำที่ทำ ความดีโดยบำเพ็ญบารมีหลายชาติภพ ผู้นำอาณาจักรโบราณพยายามนำความเชื่อเหล่านี้มาเสริมสร้างสถานภาพของพระองค์เสริมสร้างฐานะกษัตริย์ให้เป็นเจ้าที่สถิตย์อยู่บนภูเขาชื่อว่าพระศิวะ ทำให้มีการสร้างศิวะลึงค์เพื่อสถาปนาสถานะความเป็นเทพเจ้าความเชื่อกล่าวสั่งเสริมให้ผู้นำมีอำนาจ สูงสุด

เศรษฐกิจ  
คนในอาณาจักรโบราณในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รู้จักปลูกข้าวเพื่อรับประทานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์    ยุคอาณาจักรโบราณมีการพัฒนาการชลประทานเพื่อทดน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากร   และระบายน้ำยุคอาณาจักรโบราณมีการพัฒนาการชลประทานเพื่อทดน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากร  ต่อมาจึงเริ่มมีการค้าขาย กันดินแดนกับประเทศเพื่อนบ้านเช่นจีน

สังคมและวัฒนธรรม 
สังคมของอาณาจักรโบราณในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แม้ว่าได้มีการพัฒนาให้กษัตริย์มีสถานภาพสูง ด้วยคติที่รับจากอินเดียแต่ไม่รับการ แบ่งชนชั้นแบบวรรณะของอินเดีย คงแบ่งชนชั้นแบบกว้างๆ คือชนชั้นผู้ปกครอง ชนชั้นที่อยู่ใต้การปกครองที่รวมด้วยทาส
-          ความเชื่อและศาสนา ความเชื่อดั้งเดิมของคนในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับถือธรรมชาติโดยไม่เชื่อว่ามีวิญญาณที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติต่างๆ  ดังนั้นการรับศาสนาฮินดู ซึ่งนับถือเทพเจ้าหลายองค์ จึงไม่ขัดกับความเชื่อแบบเดิม
-          ภาษาและวรรณกรรม ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีภาษาถิ่นมากมายและมีเรื่องเล่าในท้องถิ่นเป็นแบบตำนาน นอกจากนี้วรรณกรรมต่างๆได้แก่ มหาภารตะ รามเกียรติ์และอาหรับราตรีเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย

ความเสื่อม  
อาณาจักรในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เสื่อมสลายไปในเวลาที่ต่างกันบางอาณาจักรสลายไปไม่สามารถฟื้นตัวได้อีก   ความเสื่อมจากภายใน เนื่องจากการต่อสู้เพื่อแย่งชินอำนาจทากงการเมืองในหมู่สมาชิกมีผลให้อาณาจักรแยกออกเป็นเจินละและเจินละน้ำทำให้เกิดผลเสียทางเศรษฐกิจโดย
สาเหตุสำคัญคือ ต้องการควบคุมแหล่งทรัพยากรและกำลังคน ความเสื่อมจากภายนอก โดยมักเกิดจากการที่อาณาจักรถกศัตรูภายนอกโจมตีรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจที่เป็นพื้นฐานการค้ากับนานาชาติ

สภาพทางการเมืองการปกครอง สังคม และเศรษฐกิจ
ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒ เป็นช่วงระยะเวลาที่ชาติตะวันตกเริ่มเดินทางเข้ามาติดต่อกับอาณาจักรต่าง ๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บรรดาอาณาจักร ต่างๆในภูมิภาคนี้ได้พยายามพัฒนาดังแปลงวัฒนธรรมที่ได้รับจากภายนอกให้ผสมกลมกลืมกับวิถีชีวิต

 ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น