วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

ประวัติศาสตร์อินเดียและเอเชียใต้

ประวัติศาสตร์อินเดียและเอเชียใต้   
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อินเดีย แบ่งอกเป็น สมัยโบราณ สมัยกลาง และสมัยใหม่ แต่ละยุคสมัยจำมีการแบ่งเป็นยุคสมัยย่อยตามช่วงเวลาของแต่ละราชวงศ์ที่มีอิทธิพลเหนืออินเดียขณะนั้น

ประวัติศาสตร์อินเดียโบราณ
    ประวัติศาสตร์อินเดียโบราณตั้งแต่สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยมีพวกดราวิเดียน เมื่อ 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนกระทั่งอารยธรรมแห่งนี้ล่มสลายลงเมื่อ 1,500 ปีก่อนคริสต์สักราชเมื่อชนชาวอารยันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและก่อตั้งอาณาจักรหลายอาณาจักรในภาคเหนือของอินเดีย นับว่าเป็นช่วงเวลาที่การเริ่มสร้างสรรค์อารยธรรมอินเดียที่แท้จริง มีการก่อตั้งศาสนาต่าง ๆ เรียกว่า สมัยพระเวท (1,500 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช) สมัยมหากาพย์ (900 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ต่อมาอินเดียรวมตัวกันในสมัยราชวงศ์มคธ (600 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และมีการรวมตัวอย่างแท้จริงในสมัยราชวงศ์เมารยะ (321 - 184 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ระยะเวลานี้เป็นเวลาที่อินเดียเปิดเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่าง ๆ ต่อมาราชวงศ์เมารยะล่มสลายอินเดียก็เข้าสู่สมัยแห่งการแตกแยกและการรุกรานจากภายนอก จากพวกกรีกและพวกกุษาณะ รยะเวลานี้เป็นสมัยการผสมผสานทางวัฒนธรรมก่อนที่จะรวมเป็นจักรวรรดิได้อีกครั้งใน ค.ศ. 320 โดยราชวงศ์คุปตะ (สมัยคุปตะ ค.ศ. 320 ค.ศ. 535)

ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยกลาง
    อินเดียเข้าสู่สมัยกลาง ค.ศ. 535 ค.ศ. 1525 สมัยนี้เป็นช่วงเวลาของความวุ่นวายทางการเมือง และการรุกรานจากต่างชาติ โดยพาะชาวมุสลิม สมัยกลางจึงเป็นสมัยที่อารยธรรมมุสลิมเข้ามามีอิทธิพลในอินเดีย สมัยกลางแบ่งได้เป็นสมัยความแตกแยกทางการเมือง (ค.ศ. 535 ค.ศ. 1200) และสมัยสุลต่านแห่งเดลลี (ค.ศ. 1200 ค.ศ. 1526)

ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่
    พวกโมกุลได้ตั้งราชวงศ์โมกุลถือว่าสมัยโมกุล (ค.ศ. 1526 ค.ศ. 1857) เป็นการเริ่มต้นสมัยใหม่จนกระทั่งอังกฤษเข้าปกครองอินเดียโดยตรงใน ค.ศ. 1585 จนถึง ค.ศ. 1947 อินเดียจึงได้รับเอกราชจากรปะเทศอังกฤษ ภายหลังได้รับเอกราชและถูกแบ่งออกเป็นประเทศต่าง ๆ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน และบังคลาเทศ (ค.ศ. 1971) ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมเปอร์เซียและวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลในสังคมอินเดีย ขณะที่ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูได้ยึดมั่นในศาสนาของตนเองมากขึ้น และเกิดความแตกแยกในสังคมอินเดีย ดังนั้นประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่ สามารถแบ่งได้เป็นสมัยราชวงศ์โมกุล (ค.ศ. 1526 ค.ศ. 1858) สมัยอังกฤษปกครองอินเดีย (ค.ศ. 1858 ค.ศ. 1947) อย่างไรก็ตามสมัยที่วัฒนธรรมมุสลิมเข้ามามีอิทธิพลในอารยธรรมอินเดียเรียกรวมว่า สมัยมุสลิม (ค.ศ. 1200 ค.ศ. 1858) หมายถึง รวมสมัยสุลต่านแห่งเดลฮีกับสมัยราชวงศ์โมกุล

การเมืองการปกครองของอินเดีย
1. สมัยพระเวท มีการปกครองแบบราชาธิปไตย กษัตริยเปนสมมติเทพ
2. สมัยจักรวรรดิ แบงเปน
3. จักรวรรดิมคธ มีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย
4. จักรวรรดิราชวงศโมริยะ แบงการปกครองออกเปน สวนกลาง สวนภูมิภาค
5. สมัยแบงแยก อาณาจักรตางๆ ตั้งตัวเปนอิสระเกิดการรุกรานจากภายนอก คือ กรีก เปอรเซีย
6. สมัยจักรวรรดิคุปตะ กษัตริยมีอํานาจเต็มในเมืองหลวงและใกลเคียง ดินแดน หางไกลมีเจาครองนครปกครอง
7. หลังสมัยคุปตะ ราชวงศปาละ เสนะ เปนราชวงศสุดทายที่ปกครองกอนที่มุสลิมจะเขายึดครองอินเดีย
8. สมัยมุสลิม ราชวงศโมกุลซึ่งนับถือศาสนาอิสลามเขามาปกครองกอนที่อินเดียจะตกเปนเมืองขึ้นของอังกฤษ
9. สมัยอาณานิคม มีระเบียบบริหารราชการ กฎหมาย และการศาลเปนแบบฉบับเดียวกันทั่วประเทศเปนผลดีแกอินเดีย
10. สมัยเอกราช พลังของขบวนการชาตินิยม ระหวางสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายใตการนําของมหาตมะคานธี
11. สมัยปจจุบัน อินเดียมีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเปนประมุข มีนายกบริหารประเทศ รัฐสภามี 2 สภาคือ ราชยสภา กับโลกสภา (สภาผูแทน)

เศรษฐกิจของอินเดีย
พื้นฐานเศรษฐกิจของอารยธรรมลุมแมนํ้าสินธุ คือ การเกษตรกรรม และการคาขาย เมื่อชาวอารยันเขามาปกครองเกิดอาชีพตางๆ ในสมัยพระเวทตอนปลายมีการคาขายกับอียิปต และตะวันออกกลาง ในสมัยคุปตะเกิดระบบศักดินาในอินเดีย รัฐบาลมีรายไดจากภาษี 2 ประเภท คือภาษีที่ดิน ภาษีการคา

สังคมและวัฒนธรรมอินเดีย
1. ระบบวรรณะ ตั้งขึ้นโดยชาวอารยัน แบงออกเปน 4 วรรณะ ไดแก วรรณะพราหมณ กษัตริย ไวศยะ (แพศย) ศูทร
2. ลักษณะครอบครัว เปนครอบครัวรวม ชายที่มีอายุมากที่สุดเปนหัวหนาครอบครัว
3. ปรัชญาและลัทธิศาสนา อินเดียเปนแหลงกําเนิดของศาสนาสําคัญ ไดแก พราหมณ-ฮินดู พุทธ เชน ซิกข คําสอนของศาสนาตางๆ มีอิทธิพลตอการดําเนินชีวิตของชาวอินเดีย

ศิลปกรรมในอารยธรรมอินเดีย
ศิลปกรรมในอินเดียสวนใหญไดรับอิทธิพลจากศาสนาและศิลปะจากภายนอก คือ กรีก เปอรเซีย แบงเปน
1. สถาปตยกรรม เนนประโยชนใชสอยมากกวาความสวยงาม สวนใหญเปนการสราง สถูป เจดีย
2. ประติมากรรม การสรางพระพุทธรูป ซึ่งไดรับอิทธิพลมาจากกรีก
3. จิตรกรรม รุงเรืองที่สุดสมัยคุปตะ ไดแก จิตรกรรมฝาผนังที่ถํ้าอชันตะ ซึ่งเปนภาพพุทธประวัติ
4. นาฎศิลปและสังคีตศิลป ซึ่งเปนสวนหนึ่งของการบูชาเทพเจา มีลักษณะเดน คือ การฟอนรํา แตงตัว แตงหนา
5. วรรณกรรม เนนหนักไปทางศาสนา เชน คัมภีรพระเวท



ศิลปกรรมในอารยธรรมอินเดีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น