วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

สงครามโลกครั้งที่ 2

สงครามโลกครั้งที่ 2 The World War 2(ค.ศ.1939 -1945)



อดอล์ฟ ฮิตเลอร์


สาเหตุการเกิดสงคราม
1. ความไม่เป็นธรรมของสนธิสัญญา หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศแพ้สงครามเกิดความรู้สึกเสมือนถูกบังคับ ซึ่งชาวเยอรมันเรียกว่า "สันติภาพมัดมือชก" จึงดำเนินการ ฉีกสัญญา ละเมิดข้อตกลง
2. ความแตกต่างของลัทธิการเมือง หลายประเทศฝักใฝ่ประชาธิปไตย ขณะที่อีกหลายประเทศเริ่มศรัทธาลัทธิเผด็จการ
3. วิกฤตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้แพ้ต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาล เกิดปัญหาเงินเฟ้อ ว่างงาน
4. ข้อขัดแย้งเรื่องดินแดน และอาณาเขตใหม่        
5. ความไม่สามัคคีของมหาอำนาจ ผู้ชนะ ต่างฝ่ายต่างรักษาผลประโยชน์ของตน
6. ความล้มเหลวขององค์สันนิบาตชาติ ที่ตั้งขึ้นเพื่อผดุงรักษาสันติภาพของโลก แต่ไม่ได้มีอำนาจอย่างจริงจัง
7. ญี่ปุ่น ขณะนั้นเป็นประเทศอุตสาหกรรม ประเทศเดียวในเอเชีย ต้องการวัตถุดิบจากแหล่งอื่นเพื่อป้อนอุตสาหกรรมโรงงาน ประกอบกับนิยมลัทธิบูชิโด ประเมินตนเองเหนือกว่าทุกชาติในแถบเอเชีย ต้องการขยายจักรวรรดิ และเป็นผู้นำของเอเชีย
สถานการณ์สงคราม
สงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มต้นขึ้นเมื่อ เยอรมนีบุกโปแลนด์ ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ก่อนที่เยอรมนีจะบุกโปแลนด์ วันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1939 กองกำลังเยอรมนีข้ามพรมแดนทางตะวันออกบุกเข้ายึดเชคโกสโลวาเกีย


เยอรมนีบุกโปแลนด์


ต่อมาในวันที่ 22 มีนาคม กองกำลังเยอรมนีบุกยึดเมืองท่าเมเมล ( Mamel ) ของลิทัวเนีย ( Lithuania ) บนชายฝั่งทะเลบอลติก และในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1939 เยอรมนีเรียกร้องยึดครองโปแลน์และดานซิก ( Danzing )
ดานซิกเป็นแคว้นอิสระจัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ปี 1919 ตั้งอยู่บนอ่าวดานซิกทางตอนเหนือของโปแลนด์
จากการเรียกร้องของเยอรมนี เป็นผลให้ในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1939 อังกฤษและฝรั่งเศสได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่โปแลนด์หากถูก เยอรมนีรุกราน
เมื่อมีการรุกรานอธิปไตยของประเทศต่างๆ ในยุโรป อังกฤษและฝรั่งเศสเห็นความจำเป็นต้องชักชวนรัสเซียเข้าเป็นพวกเพื่อการถ่วงดุลย์อำนาจทางยุโรป แต่ทางด้านเยอรมนีเกรงว่าจะถูกโจมตีสองด้าน เพราะเยอรมนีอยู่ระหว่างรัสเซียและฝรั่งเศส
เยอรมนีจึงรีบดำเนินการทางการทูตกับรัสเซียตัดหน้าอังกฤษและฝรั่งเศส เป็นผลให้ในวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1939 เยอรมนีและรัสเซีย ร่วมลงนามในข้อตกลงไม่รุกรานกัน ปี 1939 ( The Nazi - Soviet Pact or The Nonaggression Pact of 1939 ) กำหนดไม่รุกรานกันหรือวางตนเป็นกลาง ขณะพันธมิตรรุกรานประเทศอื่น
ต่อมาในวันที่ 1 กันยายน 1939 กองกำลังเยอรมนีข้ามพรมแดนตะวันออก บุกโจมตีรุกรานดินแดนทางด้านตะวันตกของ โปแลนด์อย่างรวดเร็วถือเป็นการเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2


กองกำลังเยอรมนีข้ามพรมแดนตะวันออก


การรบในยุโรป
กองกำลังสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายบุกเข้าโจมตีเยอรมนี เริ่มจากวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1945 เป็นต้นไป และข้ามแม่น้ำไรน์ เข้าสู่เยอรมนีได้ในวันที่ 7 มีนาคม 1945 มุ่งเดินทัพเข้ากรุงเบอร์ลินทางตะวันตก
ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ รัสเซียมีชัยชนะสามารถผลักดันกองกำลังเยอรมนีออกจากยูเครน รูมาเนีย บัลกาเรีย ฮังการี และโปแลนด์ มุ่งเดินทัพเข้ากรุงเบอร์ลินตะวันออกที่กรุงเบอร์ลิน
ฮิตเลอร์ มั่นใจว่าเยอรมนีต้องพ่ายแพ้เป็นแน่ กองกำลังสัมพันธมิตรกำลังเคลื่อนเข้าสู่กรุงเบอร์ลิน และเกรงต้องรับโทษขั้นรุนแรงในฐานะอาชญากรสงครามจึง ฆ่าตัวตายในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945
กองกำลังสัมพันธมิตร ยึดกรุงเบอร์ลินได้ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 เป็นผลให้กองกำลังเยอรมนีใน ออสเตรีย เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ และ อิตาลี ยอมจำนน ฝ่ายมุสโสลินีถูกพรรคพวกจับได้และถูกฆ่าตาย ในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
รัฐบาลใหม่ของเยอรมนียอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไขต่อผู้บังคับบัญชากองกำลัง สัมพันธมิตร คือ นายพล ดีไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ถือว่าเป็นวันสิ้นสุดการรบในยุโรป
การรบในเอเชีย-แปซิฟิก

การรบในเอเชีย-แปซิฟิก

ต้นปี ค.ศ. 1945 การรบเป็นไปอย่างดุเดือดเมื่อกองกำลังสัมพันธมิตรเคลื่อนเข้าใกล้หมู่เกาะ ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นได้ทำการต่อต้านอย่างแข็งกร้าวดุดันด้วยหน่วยพลีชีพ ปรากฎเด่นชัดในเดือน มีนาคม      ค.ศ. 1945 เมื่อกองกำลังสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่เกาะโอกินาวา ทหารอเมริกันบาดเจ็บและเสียชีวิตแปดหมื่นคน
สหรัฐฯ ยุติการทำสงครามในภาคพื้นทวีปเอเชีย โดยการใช้ระเบิดปรมาณูกับญี่ปุ่นเนื่องมาจาก สงครามในเอเชียและแปซิฟิกยืดเยื้อมาเป็นเวลานาน นับแต่วัน ที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 - 6 สิงหาคม 1945
อีกทั้งญี่ปุ่นเองยังคงยืนยันอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 ว่าจะคงทำสงครามต่อไปจนกว่าจะชนะ และต้องการรักษาชีวิตของทหารอเมริกันซึ่งเป็นกองกำลังหลักต้านทานการรบด้วย หน่วยพลีชีพของญี่ปุ่นสร้างความเสียหายอย่างมากต่อกองกำลังอเมริกัน การใช้ระเบิดปรมาณูจะช่วยรักษาชีวิตทหารอเมริกันได้ถึง 250000 คน และคณะนายทหารอเมริกันนำโดยรัฐมนตรีกระทรวงสงคราม คือ เฮนรี เอล. สตีมสัน ให้การสนับสนุนเห็นสมควรใช้ระเบิดปรมาณูเพื่อปราบปรามญี่ปุ่นขั้นทำลายล้าง เด็ดขาดเพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไข เช้าวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เวลา 8.15 น. ระเบิดปรมาณูลูกแรกถูกทิ้งลงที่เมืองฮิโรชิมา บนเกาะฮอนชู แรงระเบิดสร้างความเสียหายครอบคลุมพื้นที่สี่ตารางไมล์ คนบาดเจ็บและตายกว่า 135000 คน
ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945 รัสเซียประกาศสงครามกับญี่ปุ่นและเคลื่อนกองกำลังรัสเซียเข้าแมนจูเรีย ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น ทำลายขวัญและกำลังใจของญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก เพื่อบีบบังคับให้ญี่ปุ่นยอมจำนนยุติสงคราม


รัสเซียประกาศสงครามกับญี่ปุ่นและเคลื่อนกองกำลังรัสเซียเข้าแมนจูเรีย


Harry S. Truman ประธานาธิบดี ทรูแมน ( ประธานาธิบดี รูสเวลท์ เสียชีวิตในวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1945 มีผลให้รองประธานาธิบดี คือ ฮา ร์รี เอส. ทรูแมน Harry S. Truman เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีลำดับที่ 33 ของ สหรัฐอเมริกา )ตัดสินใจสั่งทิ้งระเบิดปรมาณูลูกที่สองในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ที่เมืองนางาซากิ บนเกาะคิวชู

ฮาร์รี เอส. ทรูแมน

สร้างความเสียหายอย่างมากเป็นครั้งที่สองแก่องค์ จักรพรรดิฮิโรฮิโต เรียกร้องให้คณะรัฐบาลญี่ปุ่นยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไขเพื่อรักษาชาติพันธุ์ ญี่ปุ่น เป็นผลให้ในวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เป็นวันยุติการรบในเอเชียแปซิฟิก
การลงนามอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 บนดาดฟ้าเรือรบมิสซูรี ในอ่าวโตเกียว เป็นการเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2

สงครามโลกครั้งที่ 2 ใช้สมรภูมิรบสามทวีปสองมหาสมุทร คือ
-          ในทวีปยุโรปและมหาสมุทรแอตแลนติก เริ่มการรบในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ยุติในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
-          ในทวีปแอฟริกาเริ่มการรบในวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1940 ยุติในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1943
-          ในทวีปเอเชียและมหาสมุทรแปซิฟิกเริ่มการรบในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 ยุติในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1945
โดยฝ่ายสัมพันธมิตร 57 ชาติเป็นผู้มีชัยชนะ ฝ่ายอักษะ นำโดย เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2


การยุติการรบ
ในเอเชียและแปซิกฟิก การรบในเอเชียยุติในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ญี่ปุ่นยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไข
ผลของสงคราม ประชากรโลกเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก กล่าวคือ
-          ทหารอเมริกันเสียชีวิต 4 แสนนาย
-          ทหารรัสเซียเสียชีวิต 20 ล้านนาย
-          ทหารโปแลนด์เสียชีวิต 5.8 ล้านนาย
-          ทหารเยอรมนีเสียชีวิต 4.5 ล้านนาย
-          ทหารญี่ปุ่นเสียชีวิต 2 ล้านนาย
-          ทหารในกลุ่มประเทศยุโรปรวมเสียชีวิต 35 ล้านนาย

 สหประชาชาติ

สงครามก่อให้เกิดผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ภายหลังจากสงครามประเทศต่างๆ ต้องหันกลับมาพัฒนาประเทศของตนให้กลับสู่สภาพเดิม และสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันประเทศต่างๆ พยายามที่จะหลีกเลี่ยงสงคราม แต่ก็จะหันมาแข่งขันพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ในด้านต่างๆ ให้มีความทันสมัยเหนือนานาประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น